วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมความพร้อมที่จะทำอาชีพของคณะนิติศาสตร์

การเตรียมความพร้อมที่จะทำอาชีพของคณะนิติศาสตร์

การเตรียมความพร้อมอาชีพอัยการ
          ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดสอนคณะนิติศาสตร์ และต้องสอบได้เนติบัณฑิต (นบ.) นอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นทุกประการ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอัยการมีดังต่อไปนี้
1. จบหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่งคณะกรรมการอัยการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
 2. 
จบตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
 3. 
ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารพระธรรมนูญหรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการอัยการกำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และให้
คณะกรรมการอัยการมีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้นๆ ด้วย
 4. 
มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
 5. 
มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี
 6. 
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
 7. 
เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
 8. 
ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
 9. 
ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
 10. 
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการหรือตามกฎหมายอื่น
 11. 
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
 12. 
ไม่เป็นผู้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
 13. 
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง
 14. 
เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่งคณะกรรมการอัยการจะได้กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และคณะกรรมการอัยการได้พิจารณารายงานของแพทย์เห็นว่าสมควรรับสมัครได้
          ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ได้ต้องผ่านการสอบคัดเลือกและต้องมีคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นอาชีพที่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้เท่านั้น เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วก็จะได้รับตำแหน่งเป็นอัยการผู้ช่วย คือ อัยการชั้น 1 ก่อนในขั้นต้นทุกคน และจะได้พิจารณาเลื่อนขั้นเป็นอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย (อัยการชั้น 2) ต่อไป เนื่องจากปัจจุบันมีการจัดตั้งศาลยุติธรรมเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกับคดีที่เกิด เพื่อไม่ให้คดีล้นศาลและเพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคดี ทำให้ยังคงมีความต้องการพนักงานอัยการเพื่อมาทำหน้าที่มากขึ้น เพื่ออำนวยความยุติธรรมและเป็นหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่สังคมต่อไป
          ผู้ที่เป็นพนักงานอัยการ จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดจากคณะกรรมการอัยการ และเมื่อรับราชการในตำแหน่งอัยการไม่น้อยกว่า 2 ปี สามารถสอบคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาต่อไปได้ พนักงานอัยการเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ความก้าวหน้าในอาชีพย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและความซื่อสัตย์ ซื่อตรง หากปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตแล้วย่อมมีความก้าวหน้าในอาชีพได้อย่างแน่นนอน นอกจากนี้ยังอำนวยความยุติธรรมในสังคม และรักษาผลประโยชน์ของรัฐ โดยในคดีอาญามีฐานะเป็นโจทก์แทนแผ่นดินมีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นในด้านคดีแพ่ง มีอำนาจและหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง พิจารณารับว่าแก้ต่างให้แก่นิติบุคคล ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นหรือให้แก่รัฐบาล ซึ่งเป็นโจทก์หรือจำเลยและมิใช่เป็นคดีพิพาทกับรัฐบาลเมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควร และในด้านคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีอำนาจหน้าที่ให้บริการ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เช่น การประนอมข้อพิพาท การให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี และการฟ้องคดีแทนราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดที่ไม่อาจฟ้องเองได้เพราะกฎหมายห้าม เป็นต้น รวมถึงการให้ความช่วยเหลือในการรับแก้ต่างให้เจ้าพนักงานผู้ถูกฟ้องทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ หรือรับแก้ต่างให้แก่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย





การเตรียมความพร้อมอาชีพทนายความ
นิยามอาชีพ :    ว่าความและให้คำปรึกษากฎหมายรวมทั้งจัดทำนิติกรรมสัญญาและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ
อาชีพทนายความต้องมีความความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติ-ธรรม และต้องชอบที่จะท่องจำเพราะวิชานิติศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องท่องจำมาก เช่น กฎระเบียบ มาตราต่างๆ เป็นต้น ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ต้องสอบเข้ารับการคัดเลือก หรือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาซึ่ง สภาทนายความเห็นว่าสถาบันนั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าต้องเข้ารับการอบรมจากสภาทนายความ โดยอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตร 6 เดือน และอบรมภาคปฏิบัติ หลักสูตร 6 เดือน จึงสมัครเข้าสอบขอ ใบอนุญาตว่าความผ่านการทดสอบจะได้รับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักรจากสภาทนายความ
อาชีพทนายความเป็นวิชาชีพแขนงหนึ่งที่ผู้ที่จะเป็นทนายความได้นั้น ต้องมีใบอนุญาตว่าความ ซึ่งออกให้โดยสภาทนายความ เช่นเดียวกับ แพทย์, วิศวกร, หรือสถาปนิก ที่ต้องมีใบอนุญาตเช่นเดียวกัน เป็นต้น ฉะนั้น ผู้ที่จะเป็นทนายความได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการอบรม ฝึกฝนตนเองมาก่อนๆที่จะได้รับใบอนุญาต ซึ่งกระบวนการและขั้นตอนต่างๆก็คือ
ขั้นแรก
ผู้ที่จะเป็นทนายความนั้น จะต้องจบการศึกษาชั้นปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ เท่านั้น คณะอื่นไม่ได้
ขั้นที่สอง
จะต้องผ่านการอบรมจากสภาทนายความ ซึ่งจะเปิดการอบรมปีละ 1 รุ่น ช่วงประมาณปลายปี ราวๆเดือนสิงหาคม หรือกันยายน ซึ่งจะใช้เวลาอบรมเกี่ยวทฤษฎีประมาณเดือนเศษๆ จากนั้นจะมีการทดสอบความรู้ที่อบรมไปหนึ่งครั้ง หากสามารถสอบผ่านได้ก็จะมีสิทธิเข้าฝึกงานในสำนักงานทนายความซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือน แต่ถ้าสอบครั้งแรกไม่ผ่านยังมีโอกาสสอบแก้ตัวได้หนึ่งครั้ง หากยังไม่ผ่านอีกจะไม่สามารถเข้าฝึกงานได้ และจะต้องรอสมัครในรุ่นต่อไป เมื่อผ่านการฝีกงานในสำนักงานทนายความจนครบตามเวลาที่กำหนดแล้ว จะต้องกลับมาสอบข้อเขียนอีกครั้งหนึ่ง และหากสอบผ่านได้ก็จะเป็นการสิ้นสุดกระบวนการอบรม และสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ทันทีที่เอกสารพร้อม สำหรับการอบรมนี้ หากผู้ใดที่ไม่ประสงค์ที่จะอบรม ก็สามารถทำวิธีอื่นได้คือ จะต้องเข้าไปฝึกงานอยู่กับสำนักงานทนายความเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งก่อนจะเริ่มฝึกจะต้องไปแจ้งเรื่องที่สภาทนายความให้ทราบก่อน แล้วจึงนับเวลาไป 1 ปี เมื่อครบหนึ่งปีแล้วจะต้องมาสอบ 1 ครั้ง จึงจะมีสิทธิขอใบอนุญาต แต่วิธีนี้ตามที่เขาเล่าขานกันมา บอกว่าข้อสอบยากกว่าวิธีเข้ารับการอบรม จะจริงเท็จแค่ไหนผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน
ขั้นที่สาม
ก่อนที่จะขอใบอนุญาตเป็นทนายความ จะต้องสมัครเป็นสมาชิกวิสามัญของเนติบัณฑิตยสภาเสียก่อน แล้วจึงนำหลักฐานการเป็นสมาชิกไปประกอบการยื่นขอใบอนุญาต สำหรับการสมัครสมาชิกวิสามัญของเนติบัฑิตยสภานั้น ควรจะสมัครตั้งแต่เริ่มเข้ารับการอบรมที่สภาทนายความเลย เนื่องจากจะต้องใช้เวลาประมาณไม่ต่ำกว่า 2 เดือนจึงจะได้บัตรสมาชิก จะได้ไม่เสียเวลาอีกในการยื่นขอใบอนุญาต การสมัครเป็นสมาชิกวิสามัญของเนติบัณฑิตนั้น ใช้หลักฐานการจบการศึกษาชั้นปริญญาตรีในการสมัคร
            คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพทนายความมีดังต่อไปนี้
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์
2.
ต้องขอจดทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความ
3.
มีสัญชาติไทย
4.
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และรับในอนุญาต
5.
ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศิลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
6.
ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
7
ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
8.
ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
9.
ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม
10.
ไม่เป็นผู้มีกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ
11.
ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเงินเดือน และตำแหน่งประจำเว้นแต่ ข้าราชการการเมือง
12.
ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วมสำนักงาน และตนเอง
          อาชีพทนายความนี้ นอกจากจะประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้วยังสามารถเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงาน เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของหน่วยงาน เป็นพนักงานอัยการ และก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษาก็ได้ และนอกจากนี้อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีความชำนาญทางกฎหมายเป็นพิเศษ จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับอาชีพอื่นได้มากมาย เช่น นักการเมือง ทหารตำรวจ เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่การเงิน หรือครู อาจารย์เป็นต้น ทนายความที่มีความสามารถ และมีความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างดี อาจได้รับการว่าจ้างให้เป็นทนายความว่าความในต่างประเทศ หรืออาจเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการเจรจาทางด้านกฎหมาย หรือสิทธิประโยชน์ของประเทศ



การเตรียมความพร้อมอาชีพที่ปรึกษากฎหมาย
            เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า  แล้วสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์  หลักสูตร 4 ปี จากมหาวิทยาลัยในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยเอกชน   จากนั้น จะต้องสมัครเข้ารับการฝึกอบรม  และสอบขอรับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักร  การแสวงหาประสบการณ์ในคดีความต่างๆหรือการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิตทางกฏหมายจะช่วยให้มีความรอบรู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายมากขึ้นจนสามารถประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษาด้านกฏหมายได้ดี
          คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพที่ปรึกษากฏหมายมีดังต่อไปนี้
1. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต  หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
2. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศิลธรรมอันดีและไม่เป็นผู้ได้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
3.มีประสบการณ์ในงานตุลาการทางกฎหมาย ในระดับที่อาจจะเรียกได้ว่า  ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการ และสามารถให้คำปรึกษาทางกฎหมายได้อย่างดี
4. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่ คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติ
5.ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
6.ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม
7. ไม่เป็นผู้มีกายพิการ  หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ
8. ต้องซื่อตรงต่อผู้ว่าจ้างผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม  ชุมชน   ผู้ร่วมสำนักงานมีความซื่อสัตย์และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายศักดิ์แห่งวิชาชีพ
          ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ  หรือภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่     จ้างงาน  เนื่องจากผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้จะต้องมีประสบการณ์ในงานทนายความ   หรืองานที่เกี่ยวกับงานตุลาการ  จึงสามารถทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาทางกฎหมายได้ ดังนั้นค่าตอบแทนจึงไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว  

นิยามอาชีพ : ให้คำปรึกษาแนะนำหน่วยงาน องค์กรของรัฐ และเอกชน ในงานด้านกฎหมายให้คำปรึกษาแนะนำและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติ    คำสั่งและเอกสารทางกฎหมายอื่น ๆ ดำเนินการบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่าง ๆ    รวมทั้งเรื่องสิทธิหน้าที่และข้อผูกพันตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานขององค์กรให้ผู้บริหารทราบสนับสนุนและประสานงานกับทนายความขององค์กรเกี่ยวกับการเตรียมคดีฟ้องร้องในศาล


การเตรียมความพร้อมของอาชีพผู้พิพากษา
          ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาคณะนิติศาสตร์ได้กลายเป็นคณะยอดฮิตที่ มีผู้สนใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ  นิติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของสังคม เป็นกรอบ เป็นกติกาให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

       
งานวิชาชีพที่เกี่ยวใช้ความรู้ทางด้านนิติศาสตร์นั้นมีอยู่มากไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายให้กับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทนายความ นิติกรในหน่วยงานต่างๆ อัยการหรือที่เรียกว่าผู้ทำหน้าที่ทนายแผ่นดิน เป็นต้น แต่ดูเหมือนว่าเป้าหมายสูงสุดของคนเรียนนิติศาสตร์ส่วนใหญ่จะมุ่งเป้าไปที่ตำแหน่งผู้พิพากษา ผู้ซึ่งต้องค่อยทำหน้าที่ตัดสินอรรถคดี เพื่อผดุงความยุติธรรมให้แก่สังคม


                                      
ตาชั่งสัญลักษณ์ของคณะนิติศาสตร์

       
อาชีพผู้พิพากษาถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีหน้ามีตา ทั้งหากเมื่อเทียบรายได้กับข้าราชการในหน่วยงานอื่นดูเหมือนว่าข้าราชการตุลาการจะมีรายได้ที่สูงกว่าการเป็นข้าราชการในกรมกองอื่น ทั้งอาชีพนี้เป็นหนึ่งในสามของการใช้อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจอันสูงสุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ร่วมกับ อีกสองอำนาจ อย่างนิติบัญญัติและบริหาร ตำแหน่งผู้พิพากษาจึงเป็นเป้าหมายของชาวนิติศาสตร์ส่วนใหญ่ แต่ใช่ว่าจะสามารถเป็นกันได้ง่ายๆ  แม้การคัดเลือกผู้พิพากษาในแต่ละปีนั้นไม่ได้เป็นการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกเอาผู้มีคะแนนสูงสุดในการบรรจุเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา(ก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) แต่เป็นการสอบให้ผ่านเกณฑ์ ที่  สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) กำหนด แต่กระนั้นในแต่ละปีก็มีผู้สอบได้ในหลักร้อยเท่านั้นเอง  และการจะมีคุณสมบัติครบได้สิทธิสอบในการคัดเลือกนั้นปริญญานิติศาสตร์บัณฑิตเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ
บันไดขั้นแรกสู่บังลังค์ผู้พิพากษา
        บันไดขั้นแรกของการก้าวสู่บัลลังค์ผู้พิพากษาคงหนีไม่พ้นการต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะนิติศาสตร์ ซึ่งมีเปิดสอนเกือบทุกมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน มหาวิทยาลัยเปิด หรือแม้กระทั่งในส่วนภูมิภาคก็มีราชภัฎประจำจังหวัด เปิดสอนอยู่อย่างครบครัน ส่วนจะเลือกเรียนที่ไหนนั้นก็คงจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการของผู้เรียน การเรียนในคณะนิติศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมีหลักสูตรสี่ปี
ไม่เพียงแต่เด็กมัธยมปลายที่ก้าวเข้ารั้วมหาลัยในฐานะน้องใหม่เฟรชชี่เท่านั้นที่หันมาสนใจเรียนนิติศาสตร์เพิ่มขึ้นแต่นิติศาสตร์ยังกลายเป็นคณะยอดฮิตของคนทำงานที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม และมองหาปริญญาใบที่สอง มีหลายจะสถาบันที่เปิดสอนคณะนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ที่ยอดฮิตก็อย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เปิดรับให้ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาอื่นมาศึกษาได้โดยมีหลักสูตร สาม ปี

       
นิติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของสังคมแม้ผู้เรียนอาจจะไม่ได้หวังไกลไปถึงบัลลังค์ผู้พิพากษาแต่ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายที่ได้รับจากสาขาวิชานี้ก็สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและดูเหมือนว่าชาวนิติศาสตร์ส่วนใหญ่เกือบครึ่งเลือกเรียนในคณะนี้ จะมุ่งเป้าไปที่ตำแหน่งผู้พิพากษาเป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าในแต่ละปีจะมีผู้ผ่านการสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุแต่งตั้งเพียงหลักร้อยเท่านั้น  แต่การคัดเลือกผู้พิพากษา นั้นกลับไม่ใช่การสอบแข่งขัน เอาคะแนนสูงสุดแต่จะเรียกว่าเป็นระบบการสอบแข่งขันกับตัวเองก็คงไม่ผิดนัก คือหากสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่ก.ต.กำหนดไว้ก็สามารถเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาได้  เนติบัณฑิต

       
เมื่อได้รับวุฒินิติศาสตร์บัณฑิตแล้ว เส้นทางของการผู้พิพากษาจะว่าใกล้ก็คงไม่ถูกนัก เพราะการจะมีคุณสมบัติครบถ้วนและเป็นผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกนั้นยังต้องประกอบด้วย หลักเกณฑ์อีกหลายประการ และด่านทดสอบสำคัญอีกประการหนึ่งคือการต้องผ่านหลักสูตรการอบรมกฎหมายจากเนติบัณฑิตเสียก่อน
       
ไม่ว่าจะจบระดับ นิติศาสตร์บัณฑิตมาจากที่ไหนแต่หากใฝ่ฝันจะนั่งบัลลังค์เป็นผู้พิพากษาแล้วละก็บันไดขั้นต่อมาคือการเข้าศึกษาในเนติบัณฑิต โดยจะรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะนิติศาสตร์และต้องผ่านการทดสอบความรู้ในกฎหมายอันประกอบด้วย กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา โดยมีหลักสูตรหนึ่งปีแบ่งออกเป็นสองภาคการศึกษา ซึ่งมักจะเรียกกันว่ากฎหมายสี่มุมเมือง หรือที่เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่ากฎหมายสี่ขา อันประกอบด้วย


     
ตราของเนติบัณฑิตยสภา
 ภาคที่1ขาอาญา
กฎมายหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
ขาแพ่งฯ
ทรัพย์และที่ดิน นิติกรรม - สัญญา หนี้ ละเมิด ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด หุ้นส่วน - บริษัท ครอบครัว - มรดก กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ภาค 2ขาวิแพ่งฯ
-
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
-
กฎหมายล้มละลาย
-
ระบบศาลและพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ขาวิอาญา
-
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
-
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
-
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
-
วิชาว่าความพยานและการถามพยาน
-
การจัดทำเอกสารทางกฎหมาย
        การศึกษาในระดับเนติบัณฑิตมีหลักสูตรหนึ่งปีเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับประกาศณียบัตรจากเนติบัณฑิตสภาแม้จะมีหลักสูตรเพียงแค่ปีเดียว แต่ ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่ในการเรียนจบเพียง 1 ปีตามกำหนดหากมีการเตรียมตัวไม่ดีเพียงพอเพราะเหมือนการสอบที่ต้องประมวลความรู้ระดับปริญญาตรีทั้งหมดมาใช้สอบ
       
แต่ก็ยังมีข้อดีกว่าเมื่อสอบผ่านไหนขาไหนแล้วก็สามารถนำมาเก็บสะสมไว้เพื่อใช้สอบได้ในปีต่อไปจนครบทั้งสี่ขา ก็จะมีสิทธิ์สอบปากเปล่า โดย เป็นการถามตอบ หลักกฎหมาย แบบสัมภาษณ์
เก็บอายุงาน
       
คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการของผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาคือการเก็บอายุงาน สามารถเลือกได้สองทาง ทางแรกคือการต้องมีประสบการณ์ในกาทำงานทางด้านกฎหมายมาไม่น้อยกว่าสอง ปี ในตำแหน่งดังต่อไปนี้

1
จ่าศาล,รองจ่าศาล
2.
ข้าราชการ พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วนราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
3.
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
4.
เจ้าพนักงานบังคับคดี
5.
พนักงานคุมประพฤติ
6.
อัยการ
7. นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
8.
อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
9.
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
10.
เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป.
11.
ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานบังคับคดี
12.
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
13.
ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
14.
พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบันการเงินที่ ก.ต.รับรอง
       
หรืออีกทางคือการเก็บคดี ในทางนี้อาจจะใช้เวลาที่น้อยกว่าวิธีแรก แต่การที่เป็นทนายเก็บคดีได้นั้น ต้องผ่านการอบรม จากสภาทนายความก่อน ซึ่งมีทั้งการสอบภาคทฤษฎี หากผ่านแล้วก็ตจะได้สอบภาคปฏิบัติ และสอบปากเปล่าเป็นอันดับสุดท้ายเมื่อได้รับใบอนุญาตว่าความหรือที่เรียกว่าตั๋วทนาย ก็สามารถใช้เก็บคดีเพื่อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาในลำดับต่อไปได้


       
หากเทียบกับเส้นทางสายอื่นแล้วเส้นทางการก้าวสู่บัลลังค์ของการเป็นผู้พิพากษานั้นค่อนข้างจะยาวนานกว่างานในแขนงอื่น จุดประสงค์อย่างหนึ่งเพราะต้องการให้ผู้เข้าสอบคัดเลือกมีความพร้อมทั้งความรู้และวุฒิภาวะ  สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกนั้น มีบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543ในมาตรา 26 31  ว่าด้วย การสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษ ซึ่งหลักการสำคัญถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 26
        มาตรา 26 ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาต้องมี
       
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
        (1)
มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
        (2)
ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
        (3)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
        (4)
เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
        (5)
ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
        (6)
ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
        (7)
ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
        (8)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
        (9)
ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
        (10
) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการหรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบของ ก.ต. และ
        (11)
เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคนซึ่ง ก.ต. กำหนด และ ก.ต. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้
       
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
ให้ ก.ต. มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
การสอบคัดเลือกแบ่งเป็นสามสนาม ซึ่งสามรถอธิบายหลักเกณฑ์พอสังเขปได้ดังนี้
สนามใหญ่
       
ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 26 หรือกล่าวโดยสรุปคือ คือ ต้องจบการศึกษาระดับ นิติศาสตร์บัณฑิต ได้รับประกาศณียบัตรจากเนติบัณฑิตสภา  มีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์  มีอายุงานครบตามข้อกำหนด สนามนี้เป็นช่องทางที่มีผู้สนใจสมัครสอบเป็นจำนวนมาก

สนามเล็ก
       
คุณสมบัติโดยทั่วๆไปจะเหมือนกับสนามใหญ่แต่เปิดโอกาสให้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทในคณะนิติศาสตร์สามารถเข้าสอบแข่งขันได้ ซึ่งเน้นในสาขาวิชาเฉพาะด้านซึ่งก.ต. จะผู้เป็นกำหนดกฎระเบียบในการเปิดสอบสนามเล็กออกมาเช่น ต้องมีความรู้ ในเฉพาะด้าน เช่น

กฎหมายอาญา
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายล้มละลาย กฎหมายงิธีพิจารณาความอาญา วิธีพิจารณาความแพ่ง
เป็นต้น
การคัดเลือกพิเศษหรือที่เรียกว่า สนามจิ๋ว
       
การสอบในลักษณะนี้จะเปิดสอบเมื่อคณะกรรมการตุลาการเห็นสมควร ซึ่งผู้สมัคร ต้องมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชากฎหมายที่ ก.ต. กำหนดเท่าที่ผ่านมาๆมักจะกำหนดให้มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญา โทจากต่างประเทศ จึงจะมีสิทธิสอบ

       
สำหรับเหลักเกณฑ์การคัดเลือกสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก พรบ มาตรา 26 31  ว่าด้วย การสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษ และประกาศของก.ต.

       
แม้จะมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วแต่อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ต้องการจะก้าวขึ้นสูบัลลังค์ศาลต้องพึงระวังคือการประพฤติปฏิบัติตน เพราะหน้าที่ ที่ต้องค่อยตัดสินผู้อื่นนั้นคงไม่เหมาะแน่หากตนเองก็เคยต้องโทษมาแล้วมีหลายๆกรณีที่เด็กนิติศาสตร์พลาดไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้ประวัติด่างพร้อยและหมดโอกาสสอบไปอย่างน่าเสียดาย 


การเตรียมความพร้อมอาชีพทหาร
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
2. มีความอดทน
3. มีทักษะทางด้านกีฬา เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง
4. มีความซื่อสัตย์สุจริต
5. รักความยุติธรรม
6. มีความเสียสละทั้งแรงกายแรงใจ
7. มีความกล้าหาญ
8. มีระเอียดความรอบคอบ
9. มีระเบียบวินัย
10. มีบุคลิกภาพและมีความสูงตามที่กำหนดไว้
11. รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

กองบัญชาการกองทัพไทย
           จบม.3     ---> สอบเข้าโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในส่วนของภาคปกติ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี จะรับเพศชายจำนวน 250 - 300 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ตามสาขาช่างที่เลือกศึกษา และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทยส่วนหนึ่ง คือ หน่วยทหารพัฒนา (ยังมีโควต้าของกองทัพบก และกองทัพเรืออีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเลือกหลังจบการศึกษาตามคะแนนสอบ)  
                         ---> สอบบรรจุในตำแหน่ง พลขับรถ(เฉพาะชาย) เสมียน ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี  
           จบม.6       ---> สอบเข้าโรงเรียนแผนที่ทหาร โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.20 มีอายุระหว่าง 17-20 ปี จะรับเพศชายจำนวน 40 - 45 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับวุฒิปวส.สาขาช่างสำรวจ และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทยส่วนหนึ่ง คือ กรมแผนที่ทหาร และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ยังมีโควต้าของกองทัพอากาศ 1 นาย ซึ่งจะเลือกหลังจบการศึกษาตามคะแนนสอบ)   ** น่ารู้ **   นักเรียนนายสิบแผนที่ ที่สอบได้ที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป และมีคะแนนความประพฤติดี จะได้โควต้าเข้าเรียนที่ร.ร.เตรียมทหาร และร.ร.นายร้อยจปร.
                       ---> สอบเข้าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต มีอายุระหว่าง 17-20 ปี จะรับเพศชายจำนวน 3 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทย
                       ---> สอบบรรจุในตำแหน่ง พลขับรถ(เฉพาะชาย) เสมียน ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี   
             จบปวช.    ---> สอบเข้าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ ปวช.สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ มีอายุระหว่าง 17-20 ปี จะรับเพศชายจำนวน 3 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพไทย
                        ---> สอบบรรจุชั้นประทวน (สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงินการธนาคาร การตลาด การขาย พณิชยการและบริหารธุรกิจทุกสาขา คอมพิวเตอร์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี 
             จบปวส.    ---> สอบบรรจุชั้นประทวน (สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงินการธนาคาร การตลาด การขาย พณิชยการและบริหารธุรกิจทุกสาขา คอมพิวเตอร์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี  โดยกรมกำลังพลทหาร 
              จบป.ตรี    ---> สอบบรรจุชั้นสัญญาบัตร (ร้อยตรี เรือตร เรืออากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-35 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงิน การธนาคาร วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไฟฟ้า เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ การรับสมัครประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ทุกๆปี โดยกรมกำลังพลทหาร 

กองทัพบก

            จบม.3     ---> สอบเข้าโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี และต้องมีความสามารถทางดนตรีทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ (ส่วนใหญ่จะเป็นด้านวงโยธาวาทิต ดุริยางค์ และเครื่องสาย) จะรับเพศชายจำนวน 35 นาย และเพศหญิงจำนวน 5 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ดนตรี และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานตามกองดุริยางค์ทั่วประเทศ
                       ---> สอบเข้าโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในส่วนของภาคปกติ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี จะรับเพศชายจำนวน 250 - 300 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ตามสาขาช่างที่เลือกศึกษา และแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในกองทัพบกส่วนหนึ่ง (ยังมีโควต้าของกองทัพไทย และกองทัพอากาศอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเลือกหลังจบการศึกษาตามคะแนนสอบ)    
                       ---> สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เหล่าทหารบก (สมัครผ่านร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า) โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 14-17 ปี จะรับเพศชายจำนวน 220 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปีจากร.ร.เตรียมทหารแล้ว จะได้รับวุฒิม.6 สายวิทย์ - คณิต และเข้าเรียนต่อปริญญาตรีที่ร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้าโดยไม่ต้องสอบคัดเลือกอีก เมื่อเรียนจบ 4 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นร้อยตรี บรรจุทำงานในกองทัพบก โดยส่วนหนึ่งจะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนการบินทหารบก เพื่อเป็นนักบินของกองทัพบก ** น่ารู้ **  นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้รับทุนไปศึกษาที่ร.ร.นายเรือต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สเปน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เกาหลี              
                      ---> เส้นทางนี้สำหรับผู้ชายเท่านั้น โดยขั้นตอนแรกจะต้องเรียนนศท.ปี 3 เป็นอย่างน้อย หรือหากไม่ได้เรียนก็ต้องเคยเป็นทหารกองประจำการมาก่อน(ทหารเกณฑ์) ซึ่งเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า "ทหารกองหนุน" เมื่อปลดเป็นกองหนุนเรียบร้อยจะมีการรับสมัครของหน่วยทหารต่างๆโดยตรง ซึ่งก็มีทั้งหน่วยรบ(เฉพาะอดีตทหารเกณฑ์ในเหล่าราบ ช่าง ปืนใหญ่) และหน่วยสนับสนุน หน่วยสารบรรณ เช่น พลขับรถ เสมียน เมื่อสอบได้แล้วก็จะบรรจุแต่งตั้งยศสิบตรี
                      ---> เส้นทางนี้ก็สำหรับผู้ชายอีกเช่นกัน โดยการสมัครเข้าเป็นพลอาสาสมัคร(คล้ายพลทหาร) ซึ่งหน่วยที่รับพลอาสาสมัครเป็นประจำนั้น ได้แก่ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์, กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์, กองพันจู่โจม, กรมทหารพรานที่ 11 44 และ47 เป็นต้น เมื่อเข้าเป็นพลอาสาสมัครแล้ว เส้นทางที่จะได้ติดยศ สิบตรี มี 3 เส้นทาง คือ
          1. สมัครสอบนักเรียนนายสิบทหารบก โดยจะต้องมีวุฒิม.6/ปวช./กศน. และมีอายุไม่เกิน 24 ปีในปีที่สมัครสอบ
          2. รอสอบบรรจุติดยศ ในส่วนของกรมทหารพราน ซึ่งการเปิดสอบก็ไม่มากนัก อาจต้องรอนานหน่อย แต่สำหรับพลอาสาสมัครของทหารมหาดเล็กฯ จะมีการพิจารณาแต่งตั้งยศเองใน 2-5 ปี
            จบม.6    ---> สอบเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบก รับเฉพาะเพศชาย โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 17-21 ปี ในส่วนของบุคคลพลเรือน(เรียน/ไม่เรียนนศท.) จำนวน 1188 นาย และจากทหารกองหนุน/พลอาสาสมัคร/ทหารกองประจำการ/อาสาสมัครทหารพราน (อายุไม่เกิน 24 ปี) จำนวน 792 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 1 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในหน่วยของกองทัพบกทั่วประเทศ        
                      ---> สอบเข้าวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต เป็นหญิงโสดอายุระหว่าง 16-25 ปี  สูงไม่ต่ำกว่า 155 ซม. น้ำหนักไม่น้อยกว่า 45 กก. ซึ่งหากต้องการจะได้รับการติดยศร้อยตรี จะต้องสมัครในส่วนของทุนกองทัพบก(รับเฉพาะเพศหญิง) โดยรับจำนวนปีละ 20 นาย ส่วนทุนส่วนตัวจบแล้วไม่ผูกพันราชการจำนวน 60 นาย(รับเพศชายด้วย) โดยการคัดเลือกจะใช้วิธีการยื่นคะแนน o-net gat และpat2 เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 4 ปี จะได้รับวุฒิป.ตรี พยาบาลศาสตรบัณฑิตจากม.มหิดล สามารถนำไปใช้สอบใบประกอบวิชาชีพได้ และสำหรับทุนกองทัพบกจะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นร้อยตรีหญิง บรรจุทำงานตามโรงพยาบาลทหารทั่วประเทศ
                       ---> สอบเข้าวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต เป็นชาย/หญิงโสดอายุไม่เกิน 20 ปี  เพศชายสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. เพศหญิงสูงไม่ต่ำกว่า 150 ซม. ซึ่งหากต้องการจะได้รับการติดยศร้อยตรี จะต้องสมัครในส่วนของทุนกองทัพบก(รับเฉพาะเพศชาย) โดยรับจำนวนปีละ 20 นาย ส่วนทุนส่วนตัวรับจำนวน 80 นาย(ชาย 40 หญิง 40) จบแล้วอาจได้รับการแต่งตั้งยศของโควต้าเหล่าทัพต่างๆ หากเรียนเก่งได้คะแนนอยู่ในลำดับที่จำนวนโควต้ามาถึงก็จะได้รับการติดยศ(มีทั้งทบ. ทร. ทอ.) โดยการคัดเลือกจะใช้วิธีการยื่นคะแนนเหมือนเข้าคณะแพทย์ทั่วไป(แต่ต้องยื่นสมัครกับวพม.ด้วยนะ) เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 6 ปี จะได้รับวุฒิป.ตรี แพทยศาสตรบัณฑิต
                      ---> สำหรับผู้ที่พลาดจากเส้นทางที่กล่าวมา อาจเข้ารับราชการชั้นประทวน โดยการสมัครทหารกองประจำการ(ทหารเกณฑ์) เมื่อถึงปีเกณฑ์ทหาร เมื่อประจำการแล้ว 1 ปี จะมีสิทธิ์สอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบ ซึ่งรับปีละ 600 นาย (สมัครพร้อมนายสิบทหารบก) และยังมีสิทธิ์สมัครสอบนักเรียนนายสิบทหารบกได้อีกด้วย เนื่องจากจะให้เลือก 2 อันดับ แต่หากประจำการไม่ถึง 1 ปี จะสอบได้เฉพาะนักเรียนนายสิบทหารบกเท่านั้น เมือจบหลักสูตร 1 ปีแล้ว จะได้รับการแต่งตั้งยศ สิบตรี บรรจุทำงานทั่วประเทศ (สำหรับนนส.เหล่าร. จะบรรจุในหน่วยทหารราบเท่านั้น)
            จบปวช.   ---> เส้นทางนี้สำหรับผู้ชายเท่านั้น โดยขั้นตอนแรกจะต้องเรียนนศท.ปี 3 เป็นอย่างน้อย หรือหากไม่ได้เรียนก็ต้องเคยเป็นทหารกองประจำการมาก่อน(ทหารเกณฑ์) ซึ่งเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า "ทหารกองหนุน" เมื่อปลดเป็นกองหนุนเรียบร้อยจะมีการรับสมัครของหน่วยทหารต่างๆโดยตรง ซึ่งสาขาที่รับบ่อย คือ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรกนิกส์ ช่างก่อสร้าง เมื่อสอบได้แล้วก็จะบรรจุแต่งตั้งยศสิบตรี
                     ---> สอบเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบก รับเฉพาะเพศชาย โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 17-21 ปี ในส่วนของบุคคลพลเรือน(เรียน/ไม่เรียนนศท.) จำนวน 1888 นาย และจากทหารกองหนุน/พลอาสาสมัคร/ทหารกองประจำการ/อาสาสมัครทหารพราน (อายุไม่เกิน 24 ปี) จำนวน 792 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 1 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี บรรจุทำงานในหน่วยของกองทัพบกทั่วประเทศ  
                     ---> สำหรับผู้ที่พลาดจากเส้นทางที่กล่าวมา อาจเข้ารับราชการชั้นประทวน โดยการสมัครทหารกองประจำการ(ทหารเกณฑ์) เมื่อถึงปีเกณฑ์ทหาร เมื่อประจำการแล้ว 1 ปี จะมีสิทธิ์สอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบ ซึ่งรับปีละ 600 นาย (สมัครพร้อมนายสิบทหารบก) และยังมีสิทธิ์สมัครสอบนักเรียนนายสิบทหารบกได้อีกด้วย เนื่องจากจะให้เลือก 2 อันดับ แต่หากประจำการไม่ถึง 1 ปี จะสอบได้เฉพาะนักเรียนนายสิบทหารบกเท่านั้น เมือจบหลักสูตร 1 ปีแล้ว จะได้รับการแต่งตั้งยศ สิบตรี บรรจุทำงานทั่วประเทศ (สำหรับนนส.เหล่าร. จะบรรจุในหน่วยทหารราบเท่านั้น)
            จบป.ตรี  ---> สอบบรรจุชั้นสัญญาบัตร (ร้อยตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-35 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงิน การธนาคาร วิศวกรรมคอมพิวเตอร์(ชาย) ไฟฟ้า(ชาย) เครื่องกล(ชาย) อิเล็กทรอนิกส์(ชาย) และวิทยาการคอมพิวเตอร์(ชาย) เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด สังคมสงเคราะห์ นิติศาสตร์(ชาย) พุทธศาสตรบัณฑิต/เปรียญธรรม9(ชาย) การรับสมัครประมาณเดือน ธ.ค. - ม.ค. ทุกๆปี  โดยกรมยุทธศึกษาทหารบก

กองทัพเรือ



จบม.3   ---> สอบเข้าโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ(เริ่มรับสมัครปี 2557) โดยคาดว่าจะกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี และต้องมีความสามารถทางดนตรีทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ จะรับทั้งเพศชายและเพศหญิง เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ดนตรี และแต่งตั้งยศเป็นจ่าตรี บรรจุทำงานตามกองดุริยางค์ทั่วประเทศ    
                     ---> สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เหล่าทหารเรือ (สมัครผ่านร.ร.นายเรือ) โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 14-17 ปี จะรับเพศชายจำนวน 70 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปีจากร.ร.เตรียมทหารแล้ว จะได้รับวุฒิม.6 สายวิทย์ - คณิต และเข้าเรียนต่อปริญญาตรีที่ร.ร.นายเรือโดยไม่ต้องสอบคัด เลือกอีก เมื่อเรียนจบ 4 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นเรือตรี บรรจุทำงานในกองทัพเรือ  โดยส่วนหนึ่งจะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนการบินกำแพงแสนและโรงเรียนการบินทหารบก เพื่อเป็นนักบินของกองทัพเรือ ** น่ารู้ **  นักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้รับทุนไปศึกษาที่ร.ร.นายเรือต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สเปน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
            จบม.      ---> สอบเข้าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ รับเฉพาะเพศชาย โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 17-20 ปี ในส่วนของบุคคลพลเรือน(เรียน/ไม่เรียนนศท.) และทหารกองหนุน(จากทหารกองประจำการเท่านั้น)สังกัดทร. อายุไม่เกิน 24 ปี รับปีละจำนวน 740-750 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าตรี บรรจุทำงานในหน่วยของกองทัพเรือทั่วประเทศตามพรรคเหล่าที่เลือก  ** น่ารู้ **   นักเรียนจ่าทหารเรือชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้โควต้าเข้าเรียนที่ร.ร.นายเรือ ปีละ 2 นาย  
                      ---> สอบเข้าวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต เป็นหญิงโสดอายุระหว่าง 16-20 ปี  สูงไม่ต่ำกว่า 155 ซม. น้ำหนักไม่น้อยกว่า 42 กก. ซึ่งการจะได้รับการติดยศเรือตรีนั้น ไม่แน่นอน อาจต้องทำงานในกองทัพเรือไประยะหนึ่ง โดยรับจำนวนปีละ 60 นาย ประเภททุนส่วนตัวทั้งหมด โดยการคัดเลือกจะใช้วิธีการยื่นคะแนน o-net gat และpat2 เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 4 ปี จะได้รับวุฒิป.ตรี พยาบาลศาสตรบัณฑิตจากม.มหิดล สามารถนำไปใช้สอบใบประกอบวิชาชีพได้                                                               
                       ---> สอบเข้าวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ประเภททุนส่วนตัว โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต เป็นชาย/หญิงโสดอายุไม่เกิน 20 ปี  เพศชายสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. เพศหญิงสูงไม่ต่ำกว่า 150 ซม. ซึ่งหากเรียนเก่งได้คะแนนอยู่ในลำดับที่จำนวนโควต้ามาถึงก็จะได้รับการติดยศ(มีทั้งทบ. ทร. ทอ.) โดยการคัดเลือกจะใช้วิธีการยื่นคะแนนเหมือนเข้าคณะแพทย์ทั่วไป(แต่ต้องยื่นสมัครกับวพม.ด้วยนะ) เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 6 ปี จะได้รับวุฒิป.ตรี แพทยศาสตรบัณฑิต
                       ---> สำหรับผู้หญิง ในบางปีกองทัพเรือจะรับสมัคร สารวัตรทหารเรือหญิง โดยมีคุณสมบัติคือ อายุ 18-30 ปี หญิงโสด สูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. ว่ายน้ำเป็น  
            จบปวช.    ---> สอบเข้าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ รับเฉพาะเพศชาย โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 17-20 ปี ในส่วนของบุคคลพลเรือน(เรียน/ไม่เรียนนศท.) และทหารกองหนุน(จากทหารกองประจำการเท่านั้น)สังกัดทร. อายุไม่เกิน 24 ปี รับปีละจำนวน 740-750 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าตรี บรรจุทำงานในหน่วยของกองทัพเรือทั่วประเทศตามพรรคเหล่าที่เลือก  ** น่ารู้ **   นักเรียนจ่าทหารเรือชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้โควต้าเข้าเรียนที่ร.ร.นายเรือ ปีละ 2 นาย                    
                        ---> ในบางปีกองทัพเรือจะรับสมัคร สารวัตรทหารเรือหญิง โดยมีคุณสมบัติคือ อายุ 18-30 ปี หญิงโสด สูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. ว่ายน้ำเป็น และสาขาบัญชี การเงิน สำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง อายุ18-30 ปีเช่นกัน         
         จบป.ตรี       ---> สอบบรรจุชั้นสัญญาบัตร (เรือตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-35 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงิน การธนาคาร วิศวกรรมเครื่องกล โยธา นิติศาสตร์ พุทธศาสตรบัณฑิต/เปรียญธรรม9 การรับสมัครประมาณเดือน ก.ค. - ส.ค. ทุกๆปี  โดยกรมกำลังพลทหารเรือ

กองทัพอากาศ

            จบม.3     ---> สอบเข้าโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี และต้องมีความสามารถทางดนตรีทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ (ส่วนใหญ่จะเป็นด้านวงโยธาวาทิต ดุริยางค์ และเครื่องสาย) จะรับเพศชายจำนวน 15-17 นาย และเพศหญิงจำนวน 5 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ดนตรี และแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี บรรจุทำงานตามกองดุริยางค์ทั่วประเทศ
                       ---> สอบเข้าโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในส่วนของภาคปกติ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี จะรับเพศชายจำนวน 250 - 300 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ตามสาขาช่างที่เลือกศึกษา และแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี บรรจุทำงานในกองทัพอากาศส่วนหนึ่ง (ยังมีโควต้าของกองทัพไทย และกองทัพบกอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเลือกหลังจบการศึกษาตามคะแนนสอบ)    
                       ---> สอบเข้าโรงเรียนจ่าอากาศ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 15-18 ปี จะรับเพศชายจำนวนแต่ละปีไม่เท่ากัน จะอยู่ระหว่าง 220-250 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปี จะได้รับวุฒิปวช.ตามสาขาที่เลือก และแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี บรรจุทำงานในกองทัพอากาศ ** น่ารู้ **  นักเรียนจ่าอากาศชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้โควต้าเข้าเรียนที่ร.ร.เตรียมทหาร ส่วนของกองทัพอากาศ ปีละ 4 นาย (ต้องมีอายุไม่เกิน 17 ปีในปีที่สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ)
                       ---> สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เหล่าทหารอากาศ (สมัครผ่านร.ร.นายเรืออากาศ) โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 14-17 ปี จะรับเพศชายจำนวน 84 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 3 ปีจากร.ร.เตรียมทหารแล้ว จะได้รับวุฒิม.6 สายวิทย์ - คณิต และเข้าเรียนต่อปริญญาตรีที่ร.ร.นายเรืออากาศโดยไม่ต้องสอบคัด เลือกอีก เมื่อเรียนจบ 4 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นเรืออากาศตรี บรรจุทำงานในกองทัพอากาศ โดยส่วนหนึ่งจะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนการบินกำแพงแสน เพื่อเป็นนักบินของกองทัพอากาศ   ** น่ารู้ **  นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้รับทุนไปศึกษาที่ร.ร.นายเรือต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สเปน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เกาหลี             
                      ---> เส้นทางนี้ก็สำหรับผู้ชายเท่านั้น โดยการสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการสังกัดทอ. เส้นทางที่จะได้ติดยศ จ่าอากาศตรี มี 3 เส้นทาง คือ
                                             1. สมัครสอบบรรจุ (เฉพาะเหล่าอากาศโยธิน และสารวัตร)
                                             2. สมัครเข้าฝึกหลักสูตรปฏิบัติการพิเศษ อย. ให้ได้ เมื่อฝึกจบจะได้รับการพิจารณาติดยศจ่าอากาศตรี (ต้องประจำการ 2 ปี)
            จบม.6   ---> สอบเข้าโรงเรียนจ่าอากาศ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 17-20 ปี จะรับเพศชายจำนวนแต่ละปีไม่เท่ากัน จะอยู่ระหว่าง 100-125 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี บรรจุทำงานในกองทัพอากาศ   
                      ---> สอบเข้าวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต เป็นหญิงโสดอายุระหว่าง 17-22 ปี  สูงไม่ต่ำกว่า 155 ซม. น้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 กก. ซึ่งหากต้องการจะได้รับการติดยศเรืออากาศตรี จะต้องสมัครในส่วนของทุนกองทัพอากาศ โดยรับจำนวนปีละ 20 นาย ส่วนทุนส่วนตัวจบแล้วไม่ผูกพันราชการจำนวน 30 นาย(แต่จะได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรกเมื่อกองทัพอากาศต้องการกำลังพล) โดยการคัดเลือกจะใช้วิธีการยื่นคะแนน o-net gat และpat2 เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 4 ปี จะได้รับวุฒิป.ตรี พยาบาลศาสตรบัณฑิตจากม.มหิดล สามารถนำไปใช้สอบใบประกอบวิชาชีพได้ และสำหรับทุนกองทัพบกจะได้รับการแต่ง ตั้งยศเป็นร้อยตรีหญิง บรรจุทำงานตามโรงพยาบาลทหารทั่วประเทศ
                       ---> สอบเข้าวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร คือ จบม.6 แผนวิทย์ - คณิต เป็นชาย/หญิงโสดอายุไม่เกิน 20 ปี  เพศชายสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. เพศหญิงสูงไม่ต่ำกว่า 150 ซม. ซึ่งหากต้องการจะได้รับการติดยศร้อยตรี จะต้องสมัครในส่วนของทุนกองทัพบก(รับเฉพาะเพศชาย) โดยรับจำนวนปีละ 20 นาย ส่วนทุนส่วนตัวรับจำนวน 80 นาย(ชาย 40 หญิง 40) จบแล้วอาจได้รับการแต่งตั้งยศของโควต้าเหล่าทัพต่างๆ หากเรียนเก่งได้คะแนนอยู่ในลำดับที่จำนวนโควต้ามาถึงก็จะได้รับการติดยศ(มี ทั้งทบ. ทร. ทอ.) โดยการคัดเลือกจะใช้วิธีการยื่นคะแนนเหมือนเข้าคณะแพทย์ทั่วไป(แต่ต้องยื่น สมัครกับวพม.ด้วยนะ) เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 6 ปี จะได้รับวุฒิป.ตรี แพทยศาสตรบัณฑิต
                        ---> สอบบรรจุชั้นประทวน (จ่าอากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง(ในบางตำแหน่ง เช่น สารวัตรทหารหญิง เสมียน) ตำแหน่งที่รับสมัครเป็นประจำ คือ เสมียน เจ้าหน้าที่สารวัตร เจ้าหน้าที่กำลังพล เจ้าหน้าที่นิรภัย เจ้าหน้าที่วัสดุ การรับสมัครประมาณเดือน ม.ค. - ก.พ. ทุกๆปี  โดยกรมกำลังพลทหารอากาศ
            จบปวช.     ---> สอบเข้าโรงเรียนจ่าอากาศ โดยกำหนดอายุผู้สมัครระหว่าง 17-20 ปี จะรับเพศชายจำนวนแต่ละปีไม่เท่ากัน จะอยู่ระหว่าง 100-125 นาย เมื่อจบการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี บรรจุทำงานในกองทัพอากาศ  
                       ---> สอบบรรจุชั้นประทวน (จ่าอากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-30 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง(ในบางตำแหน่ง เช่น เขียนแบบ งานภาคพื้นสาขาสำรวจ) สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงิน การธนาคาร ยานยนต์ ไฟฟ้า สำรวจ เขียนแบบ อิเล็กทรอนิกส์ ก่อสร้าง คอมพิวเตอร์ ถ่ายภาพ การรับสมัครประมาณเดือน ม.ค. - ก.พ. ทุกๆปี  โดยกรมกำลังพลทหารอากาศ
            จบป.ตรี      ---> สอบบรรจุชั้นสัญญาบัตร (เรืออากาศตรี) ตามปีงบประมาณ โดยกำหนดอายุของผู้สมัครระหว่าง 18-35 ปี รับทั้งเพศชายและหญิง สำหรับสาขาที่รับสมัครเป็นประจำ คือ บัญชี การเงิน การธนาคาร คอมพิวเตอร์ ไฟฟ้า เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาปัตย์ บรรณารักษ์ สถิติ กายภาพบำบัด สังคมสงเคราะห์ นิติศาสตร์ สาธารณสุข ภาษาอังกฤษ รัฐศาสตร์/รัฐประศาสนศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พุทธศาสตรบัณฑิต/เปรียญธรรม9 การรับสมัครประมาณเดือน ม.ค. - ก.พ. ทุกๆปี  โดยกรมยุทธศึกษาทหารบก


การเตรียมความพร้อมอาชีพครู
วิชาชีพครูมีความสำคัญต่อมนุษย์มานับตั้งแต่อดีต ด้วยความจริงที่ว่า ครูคือผู้ที่ให้วิชาความอีกทั้งยังสั่งสอนศาสตร์แห่งการกำเนิดชีวิตอันถูกต้องดีงามให้แก่เรา ถึงกับมีคำกล่าวว่า ครูคือพ่อ แม่ คนที่สองของเรา คนจะดีได้ก็เพราะมีครูดี แต่ในปัจจุบันนี้เรากลับพบว่า ผู้คนในสังคมให้ความสำคัญแก่วิชาชีพนี้น้อยลง คุรุศาสตร์และศึกษาศาสตร์คืออะไร ? ครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษา และวิชาชีพครูประกอบด้วย วิชาหลักสามส่วนคือ

1.
วิชาเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอน
2.
วิชาเกี่ยวกับการบริการพิเศษทางการศึกษา เช่น การบริหารการศึกษา การแนะแนวการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา
3.
วิชาเกี่ยวกับพื้นฐานการศึกษาเช่น พื้นฐานทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม พื้นฐานการศึกษาทางประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา จุดมุ่งหมายของศาสตร์คือ กำเนิดการและแสวงหาวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างสรรค์สังคมที่สันติสุขอย่างแท้จริง หลักสูตรการเรียนการสอน ในหลักสูตรการศึกษาเพื่อปริญญาตรีทางศึกษาศาสตร์และคุรุศาสตร์ โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาการศึกษาตามปกติ
4
ปี ซึ่งสามารถเลือกเรียนในสาขาวิชาเอกได้ตามความถนัดและความสนใจดังนี้

-
การศึกษาปฐมวัย เน้นที่วิชาชีพครูสำหรับสอนเด็ก อายุต่ำกว่า 6 ขวบ
-
ประถมศึกษา เป็นสาขาวิชาเพื่อเตรียมครูสำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา
-
มัธยมศึกษาเป็นสาขาวิชาเพื่อเตรียมครูสำหรับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
-
การสอนวิชาเอกเฉพาะ เป็นสาขาวิชาเพื่อเตรียมครูวิชาเฉพาะเช่นพละศึกษา
-
การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นสาขาวิชาเพื่อเตรียมบุคลากรทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน
-
สาขาบุคลากรทางการศึกษา เป็นสาขาวิชาเพื่อเตรียมบุคลากรทางการศึกษาสำหรับโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านเทคโนโลยีทางกา รศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว เส้นทางการศึกษา เสันทางการศึกษา ก่อนเข้าสู่การประกอบอาชีพครู อาจารย์ คือ เมื่อจบชั้น ม. 3 แล้วเลือกศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในแผนการเรียนใดก็ได้หลังจากนั้นก็สอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนคณะครุศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ หรือหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษา

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะงานของครู อาจารย์แล้ว ผู้จะทำหน้าที่ครู-อาจารย์ ควรจะมีคุณสมบัติดังนี้
1.
บุคลิกภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ
-
ด้านร่างกาย ควรเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายสมประกอบ คือไม่มีความผิดปกติหรือพิการในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อันที่จะทำลายบุคลิกภาพที่ดีและเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ

-
ด้านสติปัญญา ควรเป็นผู้ที่มีสติปัญญาสูงพอสมควร เพราะอาชีพครูต้องการคนที่มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณดี รู้จักสังเกตและจดจำได้ดี ทั้งนี้เพื่อความสามารถในการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
-
ด้านอารมณ์ ควรมีความเป็นผู้ใหญ่ คือ มีจิตใจที่มั่นคง สามารถควบคุมอารมณ์ได้ รู้จักใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน
-
ด้านสังคม ควรมีความเป็นผู้ใหญ่ในสังคม คือมีความประพฤติดี มีกิริยามารยาทอ่อนน้อม รู้จักกาลเทศะ สุภาพอ่อนโยน เป็นต้น
2.
ความสามารถและความถนัด ผู้เป็นครู-อาจารย์ ควรมีความถนัดในด้านการสอนและการสื่อสารความหมาย และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนเข้าใจได้ดีและรวดเร็ว สามารถปกครองนักเรียนในชั้นเรียนได้ มีความเข้าใจในพฤติกรรมต่างๆของเด็ก
3.
ความสนใจ ควรมีความสนใจค้นคว้าหาความรู้และวิทยาการใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ตนเองมีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ควรมีพื้นฐานความรู้ก้าวหน้าในหลายด้าน
            ที่จบการศึกษาทางสาขาวิชาชีพครูนั้น สามารถเลือกประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่สำหรับคนที่จบการศึกษาด้านนี้ มักรับราชการ หรือทำงานเป็นครู อาจารย์ สอนในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และทำงานในองค์การศึกษา ในฐานะบุคลากรการศึกษา เช่น ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุด งานแนะแนว ศึกษานิเทศก์ นักวิจัย นักวิชาการ งานในการศึกษานอกโรงเรียน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร นักสุขศึกษา เป็นต้น โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ ความก้าวหน้าในอาชีพนี้หากเป็นการรับราชการ ก็คงได้เลื่อนไปตามลำดับขั้นตอนของทางราชการที่กำหนดไว้ ทั้งในเรื่องของอัตราเงินเดือน และตำแหน่งหน้าที่การงาน ซึ่งก็คงจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น จำนวนปีที่รับราชการ คุณวุฒิที่จบการศึกษา หรือการเพิ่มคุณวุฒิการศึกษาต่อเป็นต้น