วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนนิติศาสตร์อย่างไร

เรียนนิติศาสตร์อย่างไร
การเรียนนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การอบรมคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดให้มีการอบรมความรู้ด้านกฎหมายเฉพาะด้านหลายโครงการแก่บุคคลทั่วไปหรือผู้สนใจ ซึ่งประกอบไปด้วย
- โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน
- โครงการอบรมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
- โครงการอบรมภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายระดับพื้นฐาน
- โครงการอบรมภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายระดับเฉพาะทาง
- โครงการอบรมประกาศนียบัตรกฎหมายธุรกิจสำหรับบุคคลทั่วไป
- โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

สาขาวิชานิติศาสตร์ ประกอบด้วย วิชาเฉพาะด้านใน 4 สาขา ดังนี้
1. สาขากฎหมายแพ่ง
2. สาขากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ
3. สาขากฎหมายมหาชน
4. สาขาวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม

ปริญญาตรีนิติศาสตร์มหาบัณฑิต
ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี (สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยในแต่ละปีการศึกษาจะคัดเลือกนักศึกษาผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น
-โครงการคัดเลือกผ่านระบบกลางการรับนักศึกษา (Admission)
-โครงการส่งเสริมการศึกษาวิชานิติศาสตร์ (คณะนิติศาสตร์จัดสอบคัดเลือกเอง)
ภาคภาษาอังกฤษ หลักสูตร 4 ปี (สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ (Bachelor of Laws in Business Laws, English Programme)
ภาคบัณฑิต หลักสูตร 3 ปี (สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ ยกเว้นสาขานิติศาสตร์)
ประกาศนียบัตรบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับนิติศาสตร์บัณฑิต โดยมิได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในระดับปริญญาโท หากแต่เป็นโครงการที่มีลักษณะเฉพาะที่สมบูรณ์ในตัวเอง การศึกษาตามโครงการนี้จะเน้นให้ศึกษาได้มีความรู้ ทั้งทางด้านกฎหมาย และแนวทางปฏิบัติที่เป็นอยู่โดยจะศึกษาทั้งทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละเรื่องในทางปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย
ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน (Graduate Diploma Programme in Public Law)
ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายธุรกิจ (Graduate Diploma Programme in Business Law)

ปริญญาโทนิติศาสตร์มหาบัณฑิต (น.ม.)
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทโดยเกิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ พ.ศ. 2477 และได้ปรับปรุงหลักสูตรนี้โดยตลอด การปรับปรุงครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยประกอบไปด้วยสาขาวิชาดังต่อไปนี้
หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต หลักสูตร 2 ปีครึ่ง ไม่เกิน 4 ปี (สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต) เปิดรับสมัคร 8 สาขา ดังนี้
กฎหมายเอกชน (Private Law)
กฎหมายอาญา (Criminal Law)
กฎหมายมหาชน (Public Law)
กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental)
กฎหมายธุรกิจ (Business Law)
กฎหมายภาษี (Tax Law)
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Regulation)
หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต ดังนี้
หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Arts Programme : M.A.) สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต หรือปริญญาบัณฑิตอื่น ดังนี้
หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิตด้านกฎหมายมหาชน (Public Law)
หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิตสาขานิติเศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ

ปริญญาเอกนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (น.ด.)
เช่นเดียวกันกับหลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรปริญญาเอกคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรม-ศาสตร์ก็ได้เปิดสอนเป็นสถาบันแรกของประเทศไทยเช่นเดียวกัน และได้จัดการเรียนการสอนตลอดมา และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรในปี พ.ศ. 2539 โดยผู้สมัครเป็นผู้เสนอหัวข้อให้บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ เป็นผู้พิจารณาวิทยานิพนธ์ เป็นต้น

แนวทางการเรียนนิติศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จ
          การที่เราจะประสบความสำเร็จในเรื่องใดนั้น ก่อนอื่นต้องรักในสิ่งที่เรียนก่อน ถามตัวเองและตอบตัวเองให้ได้ว่าเรารักที่จะเรียนหรือไม่ เมื่อคำตอบคือใช่หรือคำตอบคือไม่แน่ใจ จงทำใจให้รักแล้วทุกอย่างก็จะสำเร็จ
การเข้าเรียน  การเข้าเรียนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากนักศึกษาควรที่จะเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อทำให้เข้าใจตัวบทกฎหมาย  เข้าใจฎีกาที่สำคัญต่างๆได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นนักศึกษายังได้มีโอกาสพบกับอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายที่มาให้ความรู้ หากนักศึกษามีข้อข้องใจก็สามารถสอบถามอาจารย์ได้และในขณะที่เรียนนั้นควรที่จะมีการจดย่อประเด็นสำคัญในวิชาที่อาจารย์สอนว่าหัวใจสำคัญของวิชานั้นๆ คืออะไรนอกจากจะเป็นการทบทวนบทเรียนด้วยภาษาของตนเองแล้วเมื่อใกล้สอบยังสามารถอ่านสมุดจดประกอบช่วยให้อ่านหนังสือเร็วและเข้าใจง่ายขึ้น การเรียนกฎหมายนั้นนักศึกษาต้องเรียนให้เกิดความสงสัย แล้วพยายามตั้งคำถาม ถามอาจารย์ที่สอน ถามเพื่อน รวมทั้งถามตัวเองอยู่เสมอว่าวิชาที่เรียนนั้นสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างความสงบสุขให้แก่สังคมได้อย่างไร
การอ่านหนังสือ  การอ่านหนังสือสำหรับนักศึกษากฎหมายนั้นเป็นเรื่องคู่กัน  นักศึกษาต้องอ่านหนังสือให้มากและต้องจัดสรรเวลาในการอ่านหนังสือให้ได้  โดยในแต่ละวันต้องกำหนดว่าจะอ่านกี่ชั่วโมง  ต้องมีการวางแผนอยู่เสมอและมีวินัยในตัวเองให้มาก ซึ่งแต่ละคนนั้นความเข้าใจไม่เหมือนกันบางคนอ่านแล้วเข้าใจง่ายก็ใช้เวลาอ่านไม่นาน บางคนต้องอ่านหลายรอบจึงเข้าใจจึงต้องใช้เวลาในการอ่านหนังสือค่อนข้างมาก  ดังนั้นเวลาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องจัดสรรให้เหมาะสมกับตัวเอง ส่วนหนังสือที่ต้องอ่านคือหนังสือที่อาจารย์ผู้สอนรายวิชานั้นแนะนำในชั้นเรียนน่าจะดีที่สุด  แต่อย่างไรก็ตามหนังสือมีจำนวนมากดังควรเลือกอ่านหนังสือที่นักศึกษาอ่านแล้วมีความเข้าใจ อ่านง่ายมากที่สุดสำหรับนักศึกษา นอกจากหนังสือเรียนแล้วจะต้อง บทความทางกฎหมายและอ่านคำพิพากษาฎีกาด้วย  เพราะคำพิพากษาฎีกานั้นนอกจากจะเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันแล้ว ยังเป็นตัวอย่างในการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายที่ดีอันจะเป็นแนวทางที่จะทำให้ทำข้อสอบได้ดียิ่งขึ้น
การสอบ ก่อนอื่นที่สำคัญคือการเตรียมตัวสอบ นักศึกษาต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอบ ต้องอ่านหนังสือให้เข้าใจอย่างน้อย 1 รอบ และต้องท่องจำหลักกฎหมายให้ได้ การเตรียมตัวที่ดีอย่างหนึ่งในการสอบคือการฝึกเขียนตอบข้อสอบ  โดยการนำแบบทดสอบหรือข้อสอบเก่ามาฝึกทำเพื่อฝึกทักษะการจับประเด็นในข้อสอบ  ฝึกให้เกิดการสงสัย   ฝึกการใช้ภาษากฎหมายในการเขียนตอบข้อสอบ เพราะการตอบข้อสอบกฎหมายนั้นนักศึกษาต้องใช้ภาษากฎหมายในการตอบข้อสอบจึงจะได้คะแนนดี และการทำข้อสอบต้องมีการวางแผนเวลาในการทำข้อสอบว่าแต่ละข้อควรใช้เวลาประมาณเท่าไหร่จะได้ทำให้ทันเวลาครบถ้วนทุกข้อ และการทำข้อสอบนั้นไม่จำต้องทำเรียงข้อ  หากทำข้อไหนได้ก็สามารถทำได้ก่อนแล้วค่อยทำข้อที่ยากทีหลังได้ ก่อนเข้าห้องสอบนักศึกษาต้องทำสมาธิให้นิ่งและพร้อมที่สุดในการทำข้อสอบ   อาจจะทำโดยการหามุมสงบทำสมาธิประมาณ5-10นาที ที่สำคัญอย่าเข้าห้องสอบช้าเพราะจะทำให้ลนลานไม่มีสมาธิและควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สะอาดจะได้ไม่เป็นอุปสรรค์ในการทำข้อสอบ
การวางแผนการใช้จ่าย   การใช้ชีวิตประจำวันก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน  เพราะการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นต้องออกจากบ้านมาอยู่เองโดยที่ต้องรับผิดชอบชีวิตตนเอง ต้องปรับตัวและจัดระบบชีวิตให้เป็น  นอกจากการปรับตัวแล้วการใช้จ่ายก็เป็นเรื่องที่สำคัญ  การเรียนระดับมหาวิทยาลัยนั้นต้องใช้เงินจำนวนมาก หากใช้จ่ายซุ่มเฟือยเกินความจำเป็นจะทำให้เกิดปัญหาและส่งผลต่อการเรียนได้  ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องวางแผนการใช้จ่ายให้พอเพียง ใช้จ่ายอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด การอยู่ในกลุ่มเพื่อนหรือสังคมไม่จำเป็นต้องตามเพื่อนหรือตามแฟชั่นจนทำให้ตัวเองต้องลำบาก
การดูแลสุขภาพ นักศึกษาต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์   พักผ่อนและออกกำลังกายให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพียงพอนั้นจะทำให้นักศึกษามีความจำที่ดี  และเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การจับกลุ่มติว การติวถือว่าเป็นส่วนที่ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องมีการเสวนาข้อกฎหมายกันภายในกลุ่มเพื่อนอยู่อย่างสม่ำเสมออาจจะนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในหน้าหนังสือพิมพ์หรือข่าวสารต่างๆมาประกอบการเสวนาก็ได้ การติวนั้นเพื่อนจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นและในความคิดเห็นที่แตกต่างจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น